ถิ่นกำเนิด : ประเทศไทย
การประใช้ประโยชน์ : เลี้ยงเป็นเพื่อน
การจัดกลุ่มของ เค ซี ที : กลุ่ม 5 สปิทซ์ และพันธุ์พื้นเมือง
ส่วน 5 เอเชี่ยนสปิทซ์ และเครือญาติ ยกเว้นการทดสอบใช้งาน
ประวัติโดยย่อ
เป็นสุนัขไทยพันธุ์หนึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่หมู่บ้านบางแก้วตำบลท่านางงามอำเภอบางระกำ จังหวัด พิษ
ณุโลก ประเทศไทยที่มาของสายพันธุ์นั้นเกิดจากความบังเอิญที่สุนัขเพศเมียสีขาวดำของท่านเจ้าอาวาสวัดบางแก้วได้ไปผสมพันธุ์กับสุนัขป่า และได้ให้กำเนิดลูกสุนัขครอกหนึ่งซึ่งถือเป็นต้นตระกูลของสุนัขพันธุ์บางแก้วในปัจจุบัน ปี พ.ศ.2500ได้มีการร่วมกันพัฒนาและกำหนดมาตรฐานแห่งสายพันธุ์ขึ้น เพื่อจะให้มีลักษณะประจำพันธุ์เป็นเอกลักษณ์ที่แน่นอน อันเป็นที่มาแห่งสายพันธุ์บริสุทธิ์ในปัจจุบันสุนัขพันธุ์บางแก้วถือว่าเป็นมรดกอันล้ำค่าของจังหวัดพิษณุโลก ชาวบ้านนิยมเลี้ยงกันแทบจะทุกครัวเรือน ปัจจุบันมีผู้นิยมนำไปเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศ
ลักษณะทั่วไป :
เป็นสุนัขขนาดกลาง โครงสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีสัดส่วนที่กลมกลืน ประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีการเลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว
สัดส่วนที่สำคัญ
ความยาวของลำตัว : ความสูงที่ไหล่ = 1: 1
ความลึกของหน้าอก : ความสูงที่ไหล่ = 1: 2
พฤติกรรม / อารมณ์
ตื่นตัว ร่าเริง รักเจ้าของ เชื่อมั่นในตัวเอง จิตประสาทมั่นคง ไม่ขลาดกลัว ซื่อสัตย์
หวงแหนทรัพย์สิน ฉลาดปราดเปรียว กล้าหาญ สามารถฝึกใช้งานได้
หัว ส่วนหัว
- กะโหลก : ค่อนข้างใหญ่ ได้สัดส่วนกับลำตัว
- สต็อป : มีมุมหักเล็กน้อย
ส่วนใบหน้า- จมูก : สีดำ ขนาดได้สัดส่วนกับปาก
- สันจมูก : ตรงและยาวพอสมควร
- กรวยปาก : ยาวปานกลาง โคนปากใหญ่เรียวจรดปลายจมูก
- ริมฝีปาก : แนบสนิท มีสีเข้ม
- ปาก : มีสีขาวรอบกรวยปาก (เรียกว่า ปากคาบแก้ว) เป็นที่พึงประสงค์
- ขากรรไกร : ขบกันแนบสนิทแบบกรรไกร (Scissor Bite) โดยปลายฟันหน้าด้านล่างแตะโคนด้านในของฟันบน อนุโลม ให้ฟันๆ ขบ เสมอกันพอดี (Level Bite)
- ฟัน : เล็ก และแหลมคม สุนัขโตควรมีฟันครบ 42 ซี่
- ตา : เล็กคล้ายเมล็ดอัลมอนด์ (Almond) มีสีดำและสีน้ำตาล
- หู : เป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดเล็กได้สัดส่วนกับหัว ตั้งป้องไปข้างหน้า มีขนอ่อนที่กกหูและหลังใบหู
- คอ : ใหญ่ ล่ำสัน รับกับหัว และช่วงไหล่มีแผงขนยาวรอบคอ
ลำตัว- หลัง : เส้นหลังตรง
- เอว : แข็งแรงและกว้าง
- บั้นท้าย : ใหญ่และแข็งแรง ส่วนหลังมีขนยาวลามมาจนถึงข้อขาหลังท่อนบน
- อก : กว้าง และลึกได้ระดับเดียวกับข้อศอก โครงกระดูกหน้าอกมีลักษณะเป็นรูปวงรี
- เส้นล่าง : ท้องเว้าไม่มาก
- หาง : โคนหางใหญ่ ขนหางเป็นพวง ปลายโค้งเข้าหาเส้นหลัง
ขา ช่วงหน้า- ไหล่ : ลาดเอียงพอประมาณและมีกล้ามเนื้อแข็งแรง
- ขาหน้า : ใหญ่กว่าขาหลัง เวลายืนเหยียดตรง และขนานกัน หลังขามีขนยาว ลักษณะคล้ายแข้งสิงห์
- ข้อขาหน้า : ข้อเท้าสั้นทำมุมเฉียงเล็กน้อย
- เท้า : อุ้งเท้ากลมคล้ายอุ้งเท้าแมว มีขนยาวคลุมนิ้วเท้า
ช่วงหลัง- ขาหลัง : เล็กกว่าขาหน้า เวลายืนทำมุมพอเหมาะ
- ข้อเท้า : ทำมุมพอเหมาะกับหัวเข่า
- ข้อขาหลัง : ตั้งได้ฉากกับพื้น มองทางด้านหลัง ขนานกัน
- เท้า : อุ้งเท้ากลมคล้ายอุ้งเท้าแมว มีขนยาวคลุมนิ้วเท้า\
- การย่างก้าว : คล่องแคล่วและทรงพลัง มองด้านข้าง ขาหน้าและหลังสอดประสานอย่างกลมกลืนเส้นหลังตรงระนาบ หัวและหางชู ขึ้นอย่าสวยงาม มองทางด้านหน้า ขาหน้าและขาหลังไม่แสดงอาการปัด หรือแกว่ง
ขนและสี- ขน : ยาวปานกลาง มี 2 ชั้นๆในละเอียดนุ่ม ชั้นนอกเส้นใหญ่เหยียดตรง ยาวคลุมบริเวณแผ่นหลัง
- สี : ขาว – น้ำตาล, ขาว – ดำ, ขาว – เทา
- ขนาด : ความสูงที่เหมาะสม วัดที่ไหล่
: เพศผู้ 19-21 นิ้ว (46-56 ซม)
: เพศเมีย 17-19 นิ้ว (41-51 ซม)
อนุโลมให้ขาด-เกินได้ หนึ่งนิ้ว (2.5 เซนติเมตร)
ข้อบกพร่อง- ตา หรือ จมูกมีสีอ่อน
- หางไพล่
- ไม่มีแผงขนรอบคอ
- ไม่มีแข้งสิงห์
- หูใหญ่
- ปากใหญ่
- ตากลมโต
- หลังโก่ง
- หลังแอ่น
- ขนาดใหญ่ – เล็ก เกินกว่ามาตรฐานกำหนด
ความบกพร่องที่ต้องคัดออก- ขนสั้นเกรียน
- หางกุด
- หูไม่ตั้ง
- ฟันบนยื่นล้ำฟันล่าง (Overshot), ฟันล่างยื่นล้ำฟันบน (Undershot)
- ฟันขาดเกิน 3 ซี่
- หางม้วนงอ
- หางไม่เป็นพวง
- ความผิดปกติทางจิตประสาท
หมายเหตุ : สุนัขเพศผู้ควรมีลูกอัณฑะครบสองลูกอยู่ในถุงอัณฑะ